อีสาน ความหมายของชาวอีสาน

คนอีสานมาจากไหน

บางทีเรียกชาวอีสาน มีหลักแหล่งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อีสานเป็นชื่อเรียกพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่มีกรุงเทพฯ เป็นศุนย์กลาง

อีสานใน รากภาษาสันสนกฤต

คำว่า อีสาน มีรากภาษาสันสนกฤต สะกดว่า อีศาน
หมายถึง นามพระศิวะ ผู้เป็นเทพยดาประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (เคยใช้มาแล้วเมื่อราวหลัง พ.ศ.๑๐๐๐ ในชื่อรัฐว่า อีศานปุระ และชื่อพระราชาว่า อีศานวรมัน) แต่คำบาลีเขียนอีสาน ฝ่ายไทยยืมรูปคำจากภาษาบาลีมาใช้ หมายถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่หมายตรงกับคำว่าอีสาน) เริ่มใช้เป็นทางการสมัยรัชกาลที่ ๕ ราว พ.ศ.๒๔๔๒ ในชื่อ มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือแต่ยังหมายเฉพาะลุ่มน้ำมูลถึงอุบลราชธานี จำปาสัก ฯลฯ
สุจิตต์ วงษ์เทศ


พจนานุกรมฉบัราชบัณฑิตยสถาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ให้ความหมายของอีสาน ๒ อย่าง คือ ๑.ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ๒.พระศิวะ หรือพระรุทร และให้ที่มาของคำ อีสาน เป็นภาษาบาลี
อีศาน เป็นภาษาสันสกฤต คนอินเดียที่ศรัทธาในศาสนา ถือว่า พระรุทร เป็นเทพเจ้าองค์สำคัญในคัมภีร์พระเวทและเป็นเทพเจ้าองค์เดียวกันกับพระศิวะหรือพระอิศวร
คนไทยจำนวนหนึ่งจึงมีความสับสนในการเขียนอีสาน บางทีเขียนอิสานหรืออิศาน อาจจะเป็นเพราะเห็นว่าคำอีสานมีความเชื่อมโยงกับอิศวร
คำหมาน คนไค

Leave a Comment